อะไรคือ เนาลิกริยา?
เนาลิกริยา (Nauli Kriya) หนึ่งในสัทกริยา (Shatkriya) ซึ่งเป็นระบบการทำความสะอาดร่างกายแบบโยคะ ใช้ในการแพทย์แผนโบราณของอินเดียในอายุรเวท
เนาลิกริยาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง เป็นเทคนิคขั้นสูงที่เชื่อกันว่าช่วยทำความสะอาดอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอวัยวะย่อยอาหารและลำไส้เล็ก และทำให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวกระชับ
การที่จะฝึกให้ประสบความสำเร็จต้องรู้จัก
Uddiyana bandha (การล็อคหน้าท้อง), Mula babdha (การล็อคฐานราก) และ Jalandhara bandha (การล็อคคาง) ค่อยๆ ฝึกฝนต่อเนื่องจะเห็นผล และควรฝึกกับครูผู้มีประสบการณ์หรือผู้ประกอบวิชาชีพอายุรเวช
โดยทั่วไปแล้วต้องฝึกเนาลิกริยา ในขณะท้องว่าง จะฝึกในท่านั่งหรือยืนก็ได้ หากท่ายืนจะทำได้ง่ายกว่า
ทุกๆ เช้าครูจะล้างจมูก เพื่อทำความสะอาดช่องทางเดินลมหายใจให้โล่ง คลีน จากนั้นต่อด้วยการฝึกเนาลิกริยา
เนาลิกริยา (Nauli Kriya) หนึ่งในสัทกริยา (Shatkriya) ซึ่งเป็นระบบการทำความสะอาดร่างกายแบบโยคะ ใช้ในการแพทย์แผนโบราณของอินเดียในอายุรเวท
เนาลิกริยาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง เป็นเทคนิคขั้นสูงที่เชื่อกันว่าช่วยทำความสะอาดอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอวัยวะย่อยอาหารและลำไส้เล็ก และทำให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวกระชับ
การที่จะฝึกให้ประสบความสำเร็จต้องรู้จัก
Uddiyana bandha (การล็อคหน้าท้อง), Mula babdha (การล็อคฐานราก) และ Jalandhara bandha (การล็อคคาง) ค่อยๆ ฝึกฝนต่อเนื่องจะเห็นผล และควรฝึกกับครูผู้มีประสบการณ์หรือผู้ประกอบวิชาชีพอายุรเวช
โดยทั่วไปแล้วต้องฝึกเนาลิกริยา ในขณะท้องว่าง จะฝึกในท่านั่งหรือยืนก็ได้ หากท่ายืนจะทำได้ง่ายกว่า
ทุกๆ เช้าครูจะล้างจมูก เพื่อทำความสะอาดช่องทางเดินลมหายใจให้โล่ง คลีน จากนั้นต่อด้วยการฝึกเนาลิกริยา
การฝึกเนาลิกริยา มีหลายรูปแบบ
• The abdominal lock, uddiyana bandha: ช่องท้องถูกดึงเข้าด้านในและขึ้นใต้ขอบล่างของซี่โครง
• Madhyana Nauli: กล้ามเนื้อส่วนกลางของช่องท้องเท่านั้นที่หดตัว
• Vama Nauli: กล้ามเนื้อหน้าท้องด้านซ้ายเท่านั้นที่หดตัว
• Daksina Nauli: กล้ามเนื้อหน้าท้องด้านขวาเท่านั้นที่หดตัว
สำหรับการฝึก เนาวลิกริยา ในท่ายืน
• เริ่มต้นยืนแยกเท้าออกจากกันและงอเข่า ลำตัวงอไปข้างหน้าและประคองด้วยมือบนต้นขา
• หายใจออกจนสุด ล็อคฐานราก (Mula babdha), ล็อคคาง (Jalandhara bandha), จากนั้นดึงช่องท้องเข้าด้านใน ล็อคหน้าท้อง (Uddiyana bandha)
• โฟกัสกล้ามเนื้อส่วนกลางและเคลื่อนไหวในลักษณะกลิ้งคล้ายคลื่น อย่าลืมสลับไปและกลับ
• โฟกัสกล้ามเนื้อส่วนกลางและเคลื่อนไหวในลักษณะกลิ้งคล้ายคลื่น อย่าลืมสลับไปและกลับ
🎞 คลิปที่ครูไปฝึกกับ Guru Charat Singh
🍀 เชื่อกันว่าฝึกเนาลิกริยา เป็นประจำช่วยบรรเทาอาการท้องผูกและปัญหาทางเดินอาหาร สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้อง และช่วยเผาผลาญไขมันหน้าท้องส่วนเกินได้ด้วย
⚠️ ผู้ฝึกที่ไม่ควรฝึก ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไส้เลื่อน แผลในกระเพาะอาหาร หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และผู้ตั้งครรภ์
⚠️ ผู้ฝึกที่ไม่ควรฝึก ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไส้เลื่อน แผลในกระเพาะอาหาร หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และผู้ตั้งครรภ์
ทุกอย่างใช้ระยะเวลาในการฝึก หมั่นฝึกเป็นประจำจึงจะเห็นผล ❤️