Ashtanga Vinyasa Yoga #1

 
ลองฝึกโยคะยามเช้ากันนะคะ

พลังดี...ร่างกายกระปรี้กระเปร่าตลอดวัน




🎞 Ashtanga Vinyasa Yoga, Led Class with Primary Serie by Kru Non 



เกร็ดความรู้ แอชทังก้า วินยาสะโยคะ
โยคะที่มีพลัง ประสานลมหายใจกับการเคลื่อนไหว ท่าแต่ละท่า (อาสนะ) เชื่อมโยงกันด้วยการเคลื่อนไหวที่ลื่นไหล (วินยาสะ) การฝึกจะมีระบบและอาสนะที่ถูกออกแบบ Sequence มาให้เรียบร้อย

การฝึกแอชทังก้า วินยาสะ จะมี 2 แบบ
• My Sore การฝึกโยคะแบบไมซอร์ ได้รับการตั้งชื่อตามเมือง Mysore ในอินเดีย โดยผู้ฝึก ค่อยๆ จดจำท่า ลมหายใจ ผู้ฝึกจะเลื่อนลำดับอย่างช้าๆ ตามจังหวะของตนเอง ครูจะช่วยและให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล และปรับท่าทางระหว่างฝึก
• Led Class ครูเป็นผู้นำฝึก ซึ่งผู้ฝึกทุกคนเคลื่อนไหวอย่างพร้อมเพรียงกันผ่านลำดับท่าชุด Sequence ตามคำชี้นำของครู

โดยทั่วไป Sequence ประกอบด้วย
1. Surya Namaskara A, B อย่างละ 5 รอบ
2. Standing Sequence ท่ายืน
3. 1 ใน 6 ของซีรีส์ ท่าหลัก
4. Finishing Sequence ท่าจบ

ในท่าหลักนั้น จะมี 6 ซีรีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ฝึกที่จะผ่านไปได้ ได้แก่
• The primary series โยคะเพื่อสุขภาพหรือโยคะบำบัด กระตุ้นการทำงานต้นขาด้านหลัง และการทำความสะอาดช่องท้อง
° The intermediate series : Nadishodhana (นาดีโชธนา) กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ทำความสะอาดช่องนาดี
• The Advanced series : Sthira bhaga (สถิระภากา) ศูนย์กลางของความแข็งแรง ซึ่งมี 4 ซีรีส์
   - Advanced A, or third series
   - Advanced B, or fourth series
   - Advanced C, or fifth series
   - Advanced D, or sixth series
เดิมมี 4 ซีรีส์ในหลักสูตรแอชทังก้า วินยาสะ สำหรับ Advanced C, Advanced D ยังไม่มีสอนให้กับบุคคลภายนอก

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : wikipedia

มาฝึกโยคะกันนะคะ แล้วจะรู้ว่าดียังไง

โยคะเปลี่ยนชีวิต
~Mind ~Body ~Soul~
ครูแอน
Asanas Yoga

International Day of Yoga

 
สวัสดีวันโยคะสากล (
International Day of Yoga) ขอบพระคุณผู้ริเริ่มศาสตร์โยคะ ขอบพระคุณครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดส่งต่อศาสตร์โยคะ ขอบพระคุณเพื่อน พี่ น้อง ลูกศิษย์ โยคะทำให้พวกเราได้เจอกัน และแบ่งปันพลังงานดีๆ ให้กันและกัน

รู้สึกอบอุ่นใจ ดีใจ ที่ได้ฝึกและสอนโยคะ
ได้เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ มันคือความสุขที่ได้เห็นการพัฒนาองค์รวมทั้งทางกาย ทางใจ และทางจิตวิญญาณ

“โยคะหล่อเลี้ยงจิตใจร่างกายและจิตวิญญาณ”
ขอให้ทุกท่านมีความสุขวันโยคะสากล 2024

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วันโยคะสากล

โยคะเปลี่ยนชีวิต
~Mind ~Body ~Soul~
ครูแอน
Asanas Yoga

10th International Day of Yoga in Y2024

 
10th International Day of Yoga

วันโยคะสากล ครั้งที่ 10 โยคะเพื่อตนเองและสังคม

งานจัดในวันที่ 16 มิถุนายน ณ สนามฟุตบอล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันนี้มีโอกาสมาเป็นครูผู้ช่วยจิตอาสา รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ดีใจได้เจอครูๆ และเพื่อนๆ โยคะ




🎞 บรรยากาศในงาน



ครูแอนอ่านเจอบทความเกี่ยวกับ
International Day of Yoga หรือ "วันโยคะสากล"  จึงได้ถือโอกาสแปล มาเล่าส่งต่อให้แฟนเพจ

วันโยคะสากลตรงกับวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2014 มีจุดเริ่มต้นจาก นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้เสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติขอให้ตั้งวันโยคะสากล เพราะต้องการเผยแพร่ "ศาสตร์โยคะ" ที่มีมานานหลายพันปีให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

แล้วเหตุใดจึงเลือก "21 มิถุนายน" เป็นวันโยคะสากล นั่นเพราะวันดังกล่าวเป็นวัน "ครีษมายัน" (ครีด-สะ-มา-ยัน) เวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกใต้ ถือเป็นวันดีตามหลักศาสนาฮินดูและเป็นวันเริ่มต้นของเทศกาลมงคล

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์หลักของวันโยคะสากล

• เพื่อสร้างความตระหนักทั่วโลกเกี่ยวกับประโยชน์ของการฝึกโยคะ
• เพื่อส่งเสริมการนำรูปแบบและทางเลือกในการดำเนินชีวิตที่นำไปสู่สุขภาพที่ดี

โลโก้วันโยคะสากล
โลโก้วันโยคะสากล ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่มาร่วมกันเพื่อสื่อถึงแก่นแท้ของโยคะเป็นการปฏิบัติแบบองค์รวมที่ส่งเสริมสุขภาวะทั้งทางกาย ทางใจ และทางวิญญาณ เน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบต่างๆของโลโก้และความสำคัญของพวกเขาสามารถมองเห็นได้ดังนี้:
ตร่างมนุษย์แสดงถึงการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณหรือแสงภายในที่โยคะช่วยปลูกฝัง
• โลก: ภาพของโลกในโลโก้วันโยคะโลกหมายถึงความเป็นสากลของโยคะซึ่งหมายความว่าเป็นการปฏิบัติที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้จากทั่วทุกมุมโลก
• ใบ (สีน้ำตาลและสีเขียว): สองคู่ของใบหนึ่งสีน้ำตาลและสีเขียวหนึ่งแสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างโยคะและธรรมชาติ
ใบสีน้ำตาล: ใบสีน้ำตาลในโลโก้เป็นสัญลักษณ์ของธาตุโลก
ใบสีเขียว: ใบสีเขียวในโลโก้แสดงถึงธรรมชาติและการเติบโตใหม่
• ข้อความ “Yoga for Harmony and Peace”: จารึกนี้เน้นประโยชน์หลักของโยคะ – บรรลุความสามัคคีภายในตัวเองและส่งเสริมสันติภาพในโลก

โดยรวมแล้ว โลโก้สื่อสารข้อความว่า โยคะเป็นการฝึกที่ส่งเสริมความสงบภายใน เชื่อมโยงเรากับธรรมชาติ และเป็นการฝึกสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงสถานที่

ธีมของวันโยคะสากลประจำปี 2024
ธีมการเฉลิมฉลองวันโยคะสากล กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ในแต่ละปีจะมีธีมเฉพาะที่เน้นแง่มุมเฉพาะของโยคะ ธีมปีนี้ทำให้พิเศษยิ่งขึ้น นั่นคือ "Yoga for Self and Society" ซึ่งแปลว่า “โยคะเพื่อตนเองและสังคม” การฝึกโยคะแสดงถึงความกลมกลืนของจิตใจและร่างกาย ความสมดุลระหว่างความคิดและการกระทำ และความสามัคคีของการยับยั้งชั่งใจ และการปฏิบัติตาม เป็นการบูรณาการร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ นำเสนอแนวทางแบบองค์รวมเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีที่นำความสงบสุขมาสู่ชีวิตที่วุ่นวายของเรา พลังของมันที่จะเปลี่ยนคือสิ่งที่เราเฉลิมฉลองในวันพิเศษนี้

“โยคะหล่อเลี้ยงจิตใจร่างกายและจิตวิญญาณ”
ขอให้ทุกท่านมีความสุขวันโยคะสากล 2024

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : Link

โยคะเปลี่ยนชีวิต
~Mind ~Body ~Soul~
ครูแอน
Asanas Yoga

About me (Updated)


ครูแอน อาสนะโยคะ (Asanas Yoga) - ครูสอนโยคะที่ได้รับการรับรอง RYT จาก Yoga Alliance (Registry ID : 428390)

-----------------------
+ สอนโยคะทั้ง แบบกลุ่ม/ไพรเวท/บริษัท/อีเว้นซ์/ออนไลน์
+ สอนแบบฝึกโยคะเชิงบวกและแบ่งปัน เพื่อสุขภาพที่ดี แข็งแรง ยืดหยุ่น สมดุลกายและจิตใจ
+ สไตล์การสอน หยินโยคะ โยคะสำหรับการบำบัด ผ่อนคลาย  หัตถะโยคะ วินยาสะโยคะ โยคะผู้สูงวัย โยคะคนท้อง และโยคะเด็ก
+ สอนตั้งแต่ระดับเริ่มฝึกใหม่ (Beginner) ไปจนถึงผู้ฝึกที่มีประสบการณ์ในการฝึกมาบ้างแล้ว (Intermediate)
+ สอนแบบละเอียด เน้นการเข้าใจในอาสนะ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย พร้อมกับลมหายใจที่ผ่อนคลาย ผู้ฝึกใหม่สามารถทำได้
+ จัดปรับท่าให้เหมาะสม เลือกฝึกได้ตามร่างกายตนเอง
+ สร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และจัดปรับสมดุลของร่างกาย ได้รับประโยชน์มากมายในการฝึก



🌐 About me

โยคะเปลี่ยนชีวิต
~Mind ~Body ~Soul~
ครูแอน
Asanas Yoga

Workshop with Guru Charat Singh


เวิร์คชอปในวันหยุดที่ผ่านมา จัดโดยโรงเรียนบางกอกโยคะ เชิญ Guru  Charat Singh มาให้องค์ความรู้กับพวกเรา บอกได้เลยคุ้มค่ามากสำหรับคอร์ส 1 วัน

🌿 เนื้อหาการเรียน
ความสำคัญและนัยของกายแต่ละชั้น
🌿 การฝึกกริยา บันดะ มุทรา เพื่อพัฒนาจิตและกาย
🌿 แบบฝึกอาสนะ
🌿 แบบฝึกปราณยามะ
🌿 ปรัชญาโยคะ

นอกจากนี้เก็บแคปเจอร์คำสอนของกูรูมาเตือนตนเอง และส่งต่อให้เพื่อนๆ

Mula babdha การล็อคฐานรากเป็นข้อสำคัญในการฝึกปราณายามะแบบดั้งเดิม มีส่วนร่วมของกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกรานเพื่อควบคุมการไหลของพลังงานและลมหายใจ

Rising of prana along the spine มุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวขึ้นของปราณ (พลังงานพลังชีวิต) ตามแนวกระดูกสันหลังในระหว่างการฝึกปราณยามะ

• Attraction of prana from the top ฝึกการดึงพลังงานขึ้นไปด้านบนของศีรษะ หรือเคลื่อนไหวผ่านทีละจักระ

Focus on the aim นึกถึงเป้าหมายที่มาฝึกโยคะ ยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น จงอย่าลืมตัวตน ฝึกให้เป็นวินัย ตระหนักรู้ในตัวตน life purpose ซึ่งเราสามารถเริ่มจากร่างกายภายนอกด้วยการฝึกอาสนะก่อน แล้วฝึกเข้าไปในชั้นในมากขึ้นถึงปราณายมะ และการทำสมาธิ

Always release breath slowly after all retentions, won’t let even a single breath be wasted without awareness
ลมหายใจ เป็นสิ่งที่ไม่หยุดทำงานในขณะที่มีชีวิต ควรปล่อยลมหายใจช้าๆ ไม่ปล่อยให้แม้แต่ลมหายใจเดียวจะสูญเปล่าโดยไม่รู้ตัว

ขอบคุณ Guru  Charat Singh และ โรงเรียนบางกอกโยคะ ที่จัดเวิร์กช็อปขึ้น มาให้องค์ความรู้ในรูปแบบโยคะดั้งเดิม และพัฒนาจิตใจให้เราเป็นเรา เป็นครูโยคะที่ดี และถ่ายทอดพลังงานที่ดีต่อไป

🎞 Workshop with Guru  Charat Singh


โยคะเปลี่ยนชีวิต
~Mind ~Body Soul
ครูแอน
Asanas Yoga

Nauli Kriya

 
อะไรคือ เนาลิกริยา?

เนาลิกริยา (Nauli Kriya) หนึ่งในสัทกริยา (Shatkriya) ซึ่งเป็นระบบการทำความสะอาดร่างกายแบบโยคะ ใช้ในการแพทย์แผนโบราณของอินเดียในอายุรเวท

เนาลิกริยาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง  เป็นเทคนิคขั้นสูงที่เชื่อกันว่าช่วยทำความสะอาดอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอวัยวะย่อยอาหารและลำไส้เล็ก และทำให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวกระชับ

การที่จะฝึกให้ประสบความสำเร็จต้องรู้จัก
Uddiyana bandha (การล็อคหน้าท้อง), Mula babdha  (การล็อคฐานราก) และ Jalandhara bandha  (การล็อคคาง) ค่อยๆ ฝึกฝนต่อเนื่องจะเห็นผล และควรฝึกกับครูผู้มีประสบการณ์หรือผู้ประกอบวิชาชีพอายุรเวช

โดยทั่วไปแล้วต้องฝึกเนาลิกริยา ในขณะท้องว่าง จะฝึกในท่านั่งหรือยืนก็ได้ หากท่ายืนจะทำได้ง่ายกว่า

ทุกๆ เช้าครูจะล้างจมูก เพื่อทำความสะอาดช่องทางเดินลมหายใจให้โล่ง คลีน จากนั้นต่อด้วยการฝึกเนาลิกริยา

การฝึกเนาลิกริยา มีหลายรูปแบบ
• The abdominal lock, uddiyana bandha: ช่องท้องถูกดึงเข้าด้านในและขึ้นใต้ขอบล่างของซี่โครง
• Madhyana Nauli: กล้ามเนื้อส่วนกลางของช่องท้องเท่านั้นที่หดตัว
• Vama Nauli: กล้ามเนื้อหน้าท้องด้านซ้ายเท่านั้นที่หดตัว
• Daksina Nauli: กล้ามเนื้อหน้าท้องด้านขวาเท่านั้นที่หดตัว

สำหรับการฝึก เนาวลิกริยา ในท่ายืน
เริ่มต้นยืนแยกเท้าออกจากกันและงอเข่า ลำตัวงอไปข้างหน้าและประคองด้วยมือบนต้นขา 
หายใจออกจนสุด ล็อคฐานราก (Mula babdha), ล็อคคาง (Jalandhara bandha), จากนั้นดึงช่องท้องเข้าด้านใน ล็อคหน้าท้อง (Uddiyana bandha)
• โฟกัสกล้ามเนื้อส่วนกลางและเคลื่อนไหวในลักษณะกลิ้งคล้ายคลื่น อย่าลืมสลับไปและกลับ

🎞 คลิปที่ครูไปฝึกกับ  Guru  Charat Singh


🍀 เชื่อกันว่าฝึกเนาลิกริยา เป็นประจำช่วยบรรเทาอาการท้องผูกและปัญหาทางเดินอาหาร  สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้อง และช่วยเผาผลาญไขมันหน้าท้องส่วนเกินได้ด้วย

⚠️ ผู้ฝึกที่ไม่ควรฝึก ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไส้เลื่อน แผลในกระเพาะอาหาร หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และผู้ตั้งครรภ์

ทุกอย่างใช้ระยะเวลาในการฝึก หมั่นฝึกเป็นประจำจึงจะเห็นผล ❤️

ขอบคุณแหล่งข้อมูล จาก Wikipedia

โยคะเปลี่ยนชีวิต
~Mind ~Body ~Soul~
ครูแอน
Asanas Yoga